วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

อำเภอกันทรลักษ์

อำเภอกันทรลักษ์
"กันทรลักษ์เมืองหลักการเกษตร  เขตประตูสู่เขาพระวิหาร  
งานพลาญผามออีแดง  แหล่งรวมวัฒนธรรม"


ประวัติ
         อำเภอกันทรลักษ์  เดิมชื่อ  เมืองอุทุมพรพิไสย”  ขึ้นอยู่กับเมืองขุขันธ์  ตั้งอยู่ที่บ้านกันตวด  ตำบลห้วยอุทุมพรริมเชิงเขาตก   (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่ตำบลกระสานต์  อำเภอจอมกระสานต์  จังหวัดพระวิหาร   ประเทศสาธารณรัฐกัมพูชาประชาธิปไตยซึ่งต่อมาได้มีการย้ายสถานที่ตั้งและเปลี่ยนชื่อเมืองและอำเภอตามลำดับ  ดังนี้
        .. 2410 สมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เมื่อพระยาขุขันธ์ (วัง) ได้ขอตั้งบ้านห้วยลำแสนไพรอาบาลกับบ้านกันตวดขึ้นเป็นเมืองกันทรลักษ์  และแต่งตั้งพระแก้วมนตรี (พิมพ์ซึ่งเป็นยกกระบัตรเมืองขุขันธ์  เป็นพระกันทรลักษณ์บาล และให้เป็นเจ้าเมืองกันทรลักษณ์แล้ว  ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านกันตวดห้วยอุทุมพรริมเชิงเขาตก  ขึ้นเป็นเมืองอุทุมพรพิไสย  ตรงกับปี พ.. 2411  พอดี  และในปีเดียวกันนั่นเอง  ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน  ฝรั่งเศส  ที่เมืองไซง่อน แห่งเวียดนาม  ได้มีหนังสือทักท้วงต่อรัฐบาลสยามว่า  เจ้าหน้าที่ของกรุงสยามได้ไปตั้งเมืองใหม่  รุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของฝรั่งเศส  ฉะนั้น  จึงทรงแต่งตั้งนายร้อยเอกหลวงอัศดร  นายร้อยเอกขุนอินทร์อนันต์และพระยาทรงพล  เป็นข้าหลวงฝ่ายไทยไปตรวจสอบข้อเท็จจริง  ผลปรากฏว่า  เป็นจริงตามข้อกล่าวหา  จึงให้ย้ายเมืองกันทรลักษณ์มาตั้งที่บ้านลาวเดิม  (ปัจจุบัน  คือ  บ้านหลักหิน  ตำบลบักดอง  อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ   และเป็นที่ตั้งวัดกันทราวาสในโอกาสต่อมาส่วนเมืองอุทุมพรพิไสย  ก็ได้ย้ายจากบ้านกันตวดมาตั้งอยู่ที่บ้านผือเก่า (ปัจจุบัน  ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านผือใหม่ ตำบลเมือง  อำเภอกันทรลักษ์)
          .. 2411  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตในวันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม  2411  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง จุลศักราช 1230  หลังที่ได้กลับจากตำบลหว้ากอ เมืองประจวบคีรีขันธ์  เมื่อคราวเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา  ในครั้งนั้น  ในขณะเดียวกันพระกันทรลักษณ์บาลก็เกิดการล้มป่วยด้วยพิษของไข้ป่า  และได้ถึงแก่กรรมในโอกาสต่อมา  บรรดาข้าราชการและประชาชนคนเมืองกันทรลักษ์ ต่างก็ตื่นกลัวการเป็นโรคไข้ป่าไม่อยากพักพาอาศัยอยู่ในเมืองกันทรลักษ์อีกต่อไป  จึงเป็นเหตุให้พระยาขุขันธ์ (วัง) ทำเรื่องราวขอย้ายเมืองนี้ไปตั้งอยู่ ณ ที่แห่งใหม่  ที่สุดก็ได้รับคำสั่งให้ยุบเมืองกันทรลักษ์ที่ตั้งอยู่ที่บ้านบักดองลาวเดิมยุบมารวมกับเมืองอุทุมพรพิไสย ที่ตั้งอยู่บ้านผือ     ตำบลเมือง  ตั้งแต่เดือน 12 ปี มะโรง พ.. 2411
         .. 2449  เมื่อยุบมารวมเป็นอำเภอเดียวกันแล้ว  นายร้อยตรีหรุ่น  ศุภประเสริฐ (ขุนอนันตภักดี)  เจ้าเมืองอุทุมพรพิไสย ได้เล็งเห็นว่า  บริเวณป่าจัมบกใกล้น้ำอ้อมทำเลดีมีความอุดมสมบูรณ์กว่าเมืองอุทุมพรไสย (บ้านผือ) จึงขอย้ายที่ทำการอำเภอเมืองอุทุมพรพิไสยมาตั้งอยู่ที่บ้านโนนบก ซึ่งอยู่ใกล้บ้านน้ำอ้อม  และได้พาราษฎรสร้างถนนจากเมืองอุทุมพรพิใสย (บ้านผือ) ตรงไปยังบ้านน้ำอ้อมผ่านหน้าโรงพยาบาลกันทรลักษณ์  โรงเรียนดำรงราชานุสรณ์  ที่ว่าการอำเภอ  ปศุสัตว์อำเภอ  วัดศิริวราวาส    และศูนย์การค้ากันทรลักษ์ (สถานีตำรวจภูธรเก่า) ไปยังบ้านน้ำอ้อม  และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ขุนอนันตภักดี  จึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนอนันตภักดีตั้งแต่ พ.. 2460  เป็นต้นมา
          .. 2452  ย้ายที่ตั้งอำเภอไปอยู่บ้านขนาเก่า  ตำบลน้ำอ้อม  เปลี่ยนชื่ออำเภออุทุมพรพิไสย  มาเป็นอำเภอกันทรลักษณ์
          .. 2455  ย้ายที่อำเภอกันทรลักษณ์ จากบ้านขนาเก่าไปตั้งที่บ้านผืออีกครั้ง
          .. 2459  กระทรวงมหาดไทยได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่  ให้เปลี่ยนคำว่า เมือง”  เป็น จังหวัดและเมืองบางแห่งก็มีการยุบและลดฐานะ  เรียกว่า อำเภอเมืองอุทุมพรพิไสย  จึงต้องลดฐานะเป็นอำเภออุทุมพรพิไสย
          .. 2460  นายอำเภอขุนอนันตภักดี ได้ขนานนามอำเภอใหม่ จากอำเภอ กันทรลักษณ์เป็นอำเภอ น้ำอ้อม
          .. 2480  เปลี่ยนชื่อจากอำเภอน้ำอ้อมมาเป็นอำเภอกันทรลักษณ์  จนถึงปัจจุบัน
          .. 2515  ในสมัยนายอำเภอสุวรรณ  สุภาผล  ได้มีการเปลี่ยนชื่อให้ถูกต้องตามอักขระดั้งเดิม  โดยได้เสนอไปยังกระทรวงมหาดไทย  ให้เปลี่ยนจากที่เขียนว่า อำเภอ กันทรลักษณ์เป็นอำเภอ กันทรลักษ์”  มาจนถึงปัจจุบัน (โดยตัด ณ์ ออก เหลือไว้แค่ ษ แล้วใส่การันต์ ที่ ษ แทน)
                        กันทร (กัน-ทอน) แปลว่า ถ้ำ หรือ ซอกเขา
                        ลักษณ์ (ลักษณะ) แปลว่า เครื่องหมาย หรือ เป้า
                        แปลตามความหมายว่า เมืองที่มีถ้ำหรือซอกเขาเป็นเครื่องหมาย (พจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน 2525)

อาณาเขต
                ทิศเหนือ     ติดต่อกับอำเภอศรีรัตนะและอำเภอเบญจลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ
                ทิศใต้     ติดต่อกับอำเภอจอมกระสานต์  จังหวัดพระวิหาร ประเทศสาธารณรัฐกัมพูชาประชาธิปไตย  โดยมีเทือกเขาพนมดงรักเป็นเส้นกั้นพรมแดน
                ทิศตะวันออก    ติดต่อกับอำเภอทุ่งศรีอุดม  อำเภอเดชอุดม  และอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
                ทิศตะวันตก     ติดต่อกับอำเภอขุนหาญ   จังหวัดศรีสะเกษ

สถานที่ท่องเที่ยว


ผามออีแดง  ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร  อยู่ปลายสุดของทางหลวงหมายเลข 221 ห่างจากอำเภอกันทรลักษ์ไปทางใต้ 34 กิโลเมตร  และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 98 กิโลเมตร  เป็นเส้นทางเดียวที่ติดต่อกับทางขึ้นเขาพระวิหาร  ผามออีแดงมีลักษณะเป็นลานหินธรรมชาติริมหน้าผาสูงติดกับพื้นที่ประเทศกัมพูชา  บริเวณจุดสูงสุดของผามออีแดง สามารถมองเห็นทัศนียภาพของปราสาทเขาพระวิหารได้อย่างชัดเจน   บริเวณผามออีแดงมีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก  และทางด้านทิศใต้ซึ่งเป็นหน้าผาที่อยู่ต่ำลงไป  มีภาพสลักหินนูนต่ำ  ศิลปะเขมร  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15  สันนิษฐานว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย  ซึ่งได้รับการประกาศเป็น  UN SEEN THAILAND 2
นอกจากนี้ยังเป็นประตูสู่ปราสาทเขาพระวิหาร  ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม  และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์  จนได้รับการขนานนามจากผู้รู้และเคยเยี่ยมชมทั่วไปว่าเป็นเสมือนเพชรน้ำเอกบนยอดมงกุฎของเทพเจ้า  เพราะเป็นศาสนสถานที่สมบูรณ์  ทั้งแผนผังลวดลายสลักตกแต่งประณีต  ตั้งอยู่บนยอดเขาที่โดดเด่นและเป็นโบราณสถานที่ล้ำค่า  ควรแก่การรักษา  จนได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก



ปราสาทโดนตวล  ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิซรอล  ตำบลบึงมะลู  ห่างจากตัวอำเภอ 38 กิโลเมตร  ตามเส้นทางอำเภอกันทรลักษ์ ผามออีแดง  เป็นปราสาทขอมโบราณขนาดเล็ก   ที่ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูงบนเทือกเขาพนมดงรักใกล้ชายแดนไทย กัมพูชา  ประกอบด้วยปรางค์รูปสี่เหลี่ยมย่อมมุมก่อด้วยอิฐซุ้มประตูก่อด้วยศิลาและรูปสิงโตประจำหลักอยู่หน้าปราสาท

                น้ำตกภูละออ  อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก  ตำบลเสาธงชัย  การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 221 (กันทรลักษ์ ผามออีแดง) ถึงบ้านภูมิซรอลเลี้ยวขวา  เข้าถนนสายบ้านภูมิซรอล น้ำตกสำโรงเกียรติ  ประมาณ 8 กิโลเมตร  แล้วเลี้ยวซ้ายสู่น้ำตกภูละอออีก 2.5 กิโลเมตร  เป็นทางลาดยางตลอดสาย น้ำตกภูละออ  เป็นน้ำตกขนาดเล็กจะสวยงามในช่วงเดือนกันยายน กุมภาพันธ์  ทางเดินเท้าจากลานจอดรถถึงน้ำตกในระยะทางไป กลับ ประมาณ 4 กิโลเมตร  โดยทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ได้พัฒนาให้เป็นเส้นทางที่ให้ความรู้เรื่องพันธ์พืชและสภาพภูมิประเทศ  ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวในลักษณะเดินป่าศึกษาธรรมชาติ


น้ำตกวังใหญ่  อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก  บ้านก่อ หมู่ 7  ตำบลละลาย  อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เส้นทางการคมนาคม ออกเดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ถึงอำเภอกันทรลักษ์ระยะทาง 65  กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอกันทรลักษ์เดินทางโดยถนนสายเขาพระวิหาร แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนที่ไปอำเภอขุนหาญ เลี้ยวซ้ายเข้าน้ำตกวังใหญ่ ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร   สภาพของน้ำตก เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก รอบๆ บริเวณเติมแต่งเพิ่มความสวยงามทิวทัศน์ตามธรรมชาติ ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เป็นน้ำตกที่มีลำธารไหลมาจากเทือกเขาพนมดงรัก น้ำตกมีความสูงประมาณ 5 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ตลอดแนวน้ำตก และยังสามารถศึกษาพืชสมุนไพร ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวจะน่าเที่ยวมากที่สุด เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ


                  อ่างเก็บน้ำห้วยขนุน  เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก บรรจุปริมาณน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร ตั้งอยู่เขตบ้านด่านใต้  หมู่ที่ ตำบลภูผาหมอก  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบล ภูผาหมอกมีทัศนียภาพที่สวยงาม ต้นไม้หลากหลายนานาพันธ์  พร้อมมีพลาญหิน ซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่า 100 ปี   มีเทือกเขาล้อมรอบ ซึ่งสวยงามมาก 

                 
                  สวนเกษตรและผลไม้บ้านซำตารมย์  ตั้งอยู่ที่บ้านซำตารมย์ หมู่ที่ 7  ตำบลตระกาจ  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ  การเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวสวนเกษตร/ผลไม้ ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 65 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหมายเลข 221  ถึงสี่แยกการช่าง  เลี้ยวซ้ายมาตามทางหมายเลข 24 (ถนนโชคชัยเดชอุดม)  และห่างจากอำเภอกันทรลักษ์ ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหมายเลข 221  ถึงสี่แยกการช่างเลี้ยวขวาตามเส้นทางหมายเลข  24  (ถนนโชคชัย-เดชอุดม)  ถึงบ้านซำตารมย์เลี้ยวซ้าย ประมาณ  1  กิโลเมตร ก็ถึงสวนเกษตร/ผลไม้  ช่วงฤดูกาลในการท่องเที่ยวสวนเงาะ  ทุเรียน  คือ เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม


               ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ เกิดจากข้อคิดและเสนอแนะจากการประชุมสภาสุขาภิบาลและสภากาแฟโดยมีนายส่งศักดิ์  สาธุภาค  นายอำเภอกันทรลักษ์ในขณะนั้น  เป็นประธานที่ประชุมเมื่อวันที่10  กันยายน  2541  ที่ประชุมมีมติเห็นควรให้มีการก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้น  ณ  ที่สาธารณะประโยชน์ป่าช้าโนนบก  หมู่ที่  1  ตำบลหนองหญ้าลาด  ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าลาด
               ต่อมาเมื่อวันที่  14  ตุลาคม  2541  อำเภอกันทรลักษ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้นดังประกาศ  อำเภอกันทลักษ์  ลงวันที่  14  ตุลาคม  2541 
              เมื่อวันที่  19  มีนาคม  2542  ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ขึ้น  โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  ( นายพจน์  ใจมั่น  )  เป็นประธานฝ่ายฆราวาสมหาราชวรรณเทวี  เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต  ซึ่งในครั้งนั้นได้มีพิธีการทางศาสนาและบวชชีพราหมณ์  เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลและศักดิ์สิทธิ์ให้บ้านเมืองเกิดความสงบร่มเย็น  หลังจากนั้นคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย  ในการก่อสร้างศาลหลักเมือง  ได้ไปดูดวงชะตาบ้านเมืองจากโหร  ซึ่งโหรได้ทำนายทายทักว่าดวงชะตาเมืองกันทรลักษ์นั้น  ดวงโฉลกเป็นหิน  ท่านส่งศิทธิ์  สาธุภาค  และคณะกรรมการจึงได้ไปเสาะหาก้อนหินศิลาที่ศักดิ์สิทธิ์และสวยงามตามโฉลกชะตาเมืองตามที่โหรทำนายไว้ในที่สุด  ได้ไปพบก้อนศิลาดังกล่าวที่วัดภูมิซรอล  ตำบลเสาธงชัย  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งก้อนศิลาแห่งนี้แกะสลักเพื่อทำเป็นเสาหลักเมืองที่อำเภอบ้านกรวด  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยนายช่างผู้ชำนาญและช่างได้ทำการแกะสลักนานร่วมเดือนจนเสร็จจึงได้อัญเชิญกลับมายังอำเภอกันทรลักษ์  และได้จัดทำพิธีสมโภชหลักเมืองขึ้น  โดยได้อัญเชิญไปประกอบพิธีสมโภชตามตำบลต่างๆ  ในท้องที่อำเภอกันทนลักษ์  ทั้ง  20  ตำบล  แล้วได้อัญเชิญมาประกอบพิธีเฉลิมฉลองสมโภช  ณ  เทศบาลเมืองกันทรลักษ์  เพิ่มอีก  3  คืน  รวมทั้งสิ้นของพิธีการสมโภช  24  วัน  23  คืน  เสร็จและจึงได้อัญเชิญประดิษฐานไว้  ณ  หน้าสำนักงานเทศบาลเมืองกันทรลักษ์  เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา    เพื่อรอการก่อสร้างศาลหลักเมืองให้แล้วเสร็จ
             เมื่อวันที่  18 พฤศจิกายน 2542  ได้จัดประกอบพิธีวางเครื่องมงคลพลีกรรมหลักเมืองขึ้น  โดยได้มอบหมายให้  หจก.บุญเพ็งก่อสร้างเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโดยสร้างศาลหลักเมืองจนสำเร็จ  และต่อมาทางคณะกรรมการได้ติดต่อ  หจก.พรอนันต์ก่อสร้างจากกรุงเทพมหานคร  มาทำการก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติม  ทั้งด้านนอกและด้านใน  เพื่อให้เกิดความสวยงาม  เด่นสง่า  เหมาะสมเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  และสักการะของประชาชนต่อไป  ทางคณะกรรมการได้มอบหมายให้  หจก.ทรัพย์ทวีก่อสร้างกันทรลักษ์เป็นผู้ปรับภูมิทัศน์รอบศาลหลักเมืองทั้ง 4 ด้าน  ให้เด่นสง่าและสวยงามดังเช่นปัจจุบัน
             วันที่  23  ธันวาคม 2547  ได้ทำการประชุมคระกรรมการและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ประกอบพิธีอัฐเชิญหลักเมืองไปประดิษฐาน  ณ ศาลหลักเมืองแห่งใหม่  ซึ่งทำการก่อสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  โดยกำหนดประกอบพิธีอัญเชิญไปประดิษฐาน  ณ ศาลหลักเมืองแห่งใหม่ในวันที่  29  มกราคม 2548  ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป
            เมื่อวันที่ 13-14 ธันวาคม 2549  เทศบาลเมืองกันทรลักษ์  ได้จัดพิธีเปิดศาลหลักเมืองอย่างเป็นทางการ  โดยในวันที่13 ธันวาคม 2549 มีพิธีบวชชีพรามณ์ตลอดคืน  และพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์  จำนวน   108   รูป   บำเพ็ญธัมจารี   และในวันที่  14   ธันวาคม   2549  เมื่อเวลา  09.30 น. นายสันทัด  จตุชัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  ให้เกียติเป็นประธานในพิธีเปิดศาลหลักเมือง
            วันที่  13 – 14  ธันวาคม  ของทุกปี  เทศบาลเมืองกันทรลักษ์จัดพิธีสมโภชน์ศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ประจำทุกปี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น